หอเกียรติยศ

แห่งพระอัจฉริยภาพ กังหันนํ้าชัยพัฒนา

พระมหากษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์

พระองค์ไม่เพียงแต่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรม เท่านั้น พระองค์ยังทรงเป็น นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์

ที่เป็นตัวอย่างให้พสกนิกรของพระองค์ ดำเนินรอยตาม


หอเกียรติยศ

แห่งพระอัจฉริยภาพ

พระมหากษัตริย์กวี

ภาพหน้าปกหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก

พระราชปรารภในหนังสือพระราชนิพนธ์


 เรื่อง พระมหาชนก


ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ณ.พระตำหนักเปี่ยมสุข  หัวหิน  เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๒


ความตอนหนึ่งโดยย่อว่า


ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับ พระธรรมเทศนาของพระมหาวีรวงศ์  ( วิน ธมมสาโร มหาเถร )

วัดราชผาติการาม  เรื่องพระมหาชนก  ทรงพระราชดำริว่า พระมหาชนก มีคติที่แจ่มแจ้ง และ น่าจะเป็นประโยชน์แก่ชนทุกหมู่


ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงทรงพระราชนิพนธ์ เรื่องโดยทรงดัดแปลงให้ทันสมัยขึ้น  แม้กระนั้นก็ดูไม่เป็นที่ซาบซึ้งของผู้อ่านบางคน 

เพื่อให้ผลประโยชน์สมบูรณ์  จึงโปรดให้ศิลปินไทยชั้นนำวาดรูปประกอบปรากฏว่า เด็กอายุเก้าขวบพูดออกมาว่าอย่างนี้อ่านรู้เรื่อง

และ ผู้ใหญ่วัยเจ็ดสิบปีก็อุทานออกมาว่าอ่านสบายไม่ต้องแบกหนังสือที่หนัก  นอกจากนี้นับว่าราคาที่ย่อมเยา 

พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก  จะช่วยให้ทุกคน สามารถพิจารณาแนวดำเนินชีวิตที่เป็นมงคล


ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์  ปัญญาที่เฉียบแหลม  กำลังกายที่แข็งแรงสมบูรณ์


พระตำหนักเปี่ยมสุข  หัวหิน  เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๒


 

พระราชปรารภในการพิมพ์ครั้งแรก ในหนังสือพระราชนิพนธ์


 เรื่องพระมหาชนก


ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ความตอนหนึ่งโดยย่อว่า


เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับ พระธรรมเทศนาของพระมหาวีรวงศ์  ( วิน ธมมสาโร มหาเถร )

วัดราชผาติการาม  เรื่องพระมหาชนก เสด็จทอดพระเนตร พระราชอุทยาน ในกรุงมิถิลา  เรื่องมีใจความว่า 

ที่ทางเข้าสวนหลวงมีต้นมะม่วงสองต้น  ต้นหนึ่ง มีผล อีกต้นหนึ่งไม่มีผล  ทรงลิ้มรสมะม่วงอันโอชา  แล้วเสด็จเยี่ยมอุทยาน

  เมื่อเสด็จกลับออกจากสวนหลวง   ทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วง ที่มีผลรสดี ถูกข้าราชบริพารดึงทิ้งจนโค่นลง  

ส่วนต้นที่ไม่มีลูกยังคงตั้งอยู่ตระหง่าน  แสดงว่า สิ่งใดดี มีคุณภาพ  จะเป็นเป้าหมาย ของการยื้อแย่ง

และจะเป็นอันตรายในท่ามกลางผู้ขาดปัญญา


 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนก ในพระไตรปิฎก 

( พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๒ )  และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ  

ตรงจากมหาชนกชาดก  ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น


มาถึงตอนเรื่องต้นมะม่วงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การที่ พระมหาชนกจะเสด็จออกทรงแสวงโมกขธรรม

  ยังไม่ถึงวาระเวลาอันสมควร  เพราะว่าได้ทรงสร้างความเจริญแก่เมืองมิถิลายังไม่ครบถ้วน  กล่าวคือข้าราชบริพาร

“ นับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้างคนรักษาม้า และ นับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราช และ โดยเฉพาะเหล่าอำมาตย์ ล้วนจาริกในโมหภูมิทั้งนั้น

  ไม่มีความรู้ทั้งทางวิทยาการทั้งทางปัญญา ยังไม่เห็นความสำคัญของผลประโยชน์แท้แม้ของตนเอง 

จึงต้องตั้งสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จ ”

อนึ่ง พระมหาชนก ยังต้องทรงปรารภเรื่องการอนุบาลต้นมะม่วงตามวิธีสมัยใหม่  เก้าวิธีอีกด้วย


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลพระมหาชนก เสร็จสมบูรณ์  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์

ในโอกาส เฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาลให้เป็นเครื่องพิจารณาเพื่อประโยชน์ ในการดำเนินชีวิตของสาธุชนทั้งหลาย


ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์  ปัญญาที่เฉียบแหลม  กำลังกายที่แข็งแรงสมบูรณ์


                                                                                                              พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน


                                                                                                               ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙


จากพระราชนิพนธ์ที่พระองค์ทรงดัดแปลงเล็กๆน้อยๆ แต่เป็นการดัดแปลง ที่ให้แง่คิดที่ยิ่งใหญ่ แก่พสกนิกรของพระองค์ 

ด้วยพระปรีชาสามารถในการมองเห็น ในอีกแง่มุม ของการ แสวงโมกขธรรม ของพระมหาชนก ซึ่งยังไม่ถึงเวลา

และชี้ให้เห็นถึง  เหล่าอำมาตย์ และ ข้าราชบริพารล้วนจาริกในโมหภูมิทั้งสิ้น ไม่มีทั้งความรู้ทั้งทางวิทยาการทั้งทางปัญญา 

โดยทรงชี้ให้เห็นว่า สิ่งใดดี มีคุณภาพ  จะเป็นเป้าหมาย ของการยื้อแย่ง และจะเป็นอันตรายในท่ามกลางผู้ขาดปัญญา


เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทยในขณะนี้  ที่กำลังโค่นล้มต้นมะม่วง กันอย่างไม่รู้ตัว  ต้นมะม่วงที่กล่าวถึงคือ

เศษซากของเครื่องมือไฟฟ้า ที่ตกอยู่ในกระบวนการรีไซเคิล ประเทศไทยรู้จักระบบนี้กันอย่างผิวเผิน  รู้กันแต่เพียงว่า

นำสิ่งที่เหลือใช้ ไปขายแล้วได้เงิน  แต่ราคาที่ได้ มันเป็นเพียง ราคาวัตถุดิบเท่านั้น การโค่นล้มต้นมะม่วงคือการทำลาย 

เมื่อมะม่วงล้มแล้วย่อมจะไม่สามารถให้ผลของมันได้อีก  กระบวนการรีไซเคิล  แท้จริงคือการนำสิ่งที่มันใช้ไม่ได้แล้วจริงๆ 

ไปทำการ หลอมละลาย เพื่อผลิตขึ้นใหม่  โดยมีวัตถุประสงค์ หลักคือการประหยัด ต้นทุนในการผลิต วัตถุดิบ แต่ทุกวันนี้

ประเทศของเรา รีไซเคิลกันอย่างขาดปัญญา เราจะเห็นได้จาก ผู้ประกอบการ ไม่ให้ความสำคัญ กับบางสิ่งที่ยังใช้ได้อยู่ 

และซึ่งสิ่งนั้น ยังไม่สมควรจะถูกหลอมละลาย ในกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งจะทำให้มูลค่า สิ่งนั้นจะลดน้อยถอยลง

เมื่อผ่านกระบวนการรีไซเคิล พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า สิ่งใดดี มีคุณภาพ  จะเป็นเป้าหมาย ของการยื้อแย่ง และจะเป็นอันตราย

ในท่ามกลางผู้ขาดปัญญา  ทุกวันนี้วัตถุดิบประเภท  เศษเหล็ก  อลูมิเนียม  ทองแดง มีค่าในกระบวนการรีไซเคิล  แต่นั่น มีค่า

แต่เพียงแค่ราคาวัตถุดิบ   เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง  เศษซากของเครื่องมือไฟฟ้า  บางชิ้นที่ยังสามารถใช้งานได้อยู่

กลับถูกทำลายลงด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ของผู้ประกอบการ  เพราะเขาเหล่านั้นต้องการแยก เหล็ก ออกจากทองแดง

ที่เดิมผลิตขึ้นเป็น ทุ่น และ ฟิลคอยด์  หรือ ย่อยพลาสติก ที่เดิมผลิตขึ้นรูปเป็นเสื้อมอเตอร์ ของเครื่องมือไฟฟ้า

 เพียงเพราะต้องการราคาวัตถุดิบเท่านั้น   ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ  ที่เสื้อมอเตอร์ของเครื่องมือไฟฟ้า ซึ่งผลิตจากพลาสติก

ที่ยังสามารถใช้งานได้ ราคา นับพันบาท ต้องถูกหลอมละลายกลายเป็นขันน้ำใบละ 5 บาท  ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ที่ราคาทุ่น

หรือ ฟิลคอยด์ ที่ยังสามารถใช้งานได้ ราคา ลูกละ เป็นพันๆบาท  ต้อง ถูกหลอมละลายกลายเป็นเหล็กเส้น  ราคาเส้นละไม่กี่บาท  

ไม่เพียงแค่นั้นในเหล็กเส้นเส้นหนึ่งต้องใช้ ทุ่นหรือฟิลคอยด์จำนวนกี่ลูก จึงสามารถหลอมได้เส้นหนึ่ง   เงินบาทในประเทศของเรา

ไหลออกไปอย่างไม่รู้ตัว ไหลออกไปกับค่าอะไหล่เครื่องมือไฟฟ้า คำตอบคือคนไทยทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบ เพราะเราขาดปัญญา

เศษซากของเครื่องมือไฟฟ้าที่ยังสามารถใช้งานได้ ย่อมเสมือนกับต้นมะม่วงที่มีค่ามากกว่า ผลมะม่วง ที่รีไซเคิล แล้วค่าของมันลดลง


จากพระราชนิพนธ์ที่พระองค์ทรงดัดแปลงเล็กๆน้อยๆ ที่ทรงวินิจฉัย ด้วยพระปรีชาสามารถ ของพระองค์  ทำให้เรื่องพระมหาชนก

ในพระไตรปิฎก  ( พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๒ ) ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก  มาช้านาน  ซึ่งไม่มีใคร มองเห็น เลยว่า

การ แสวงโมกขธรรม ของพระมหาชนก ซึ่งยังไม่ถึงเวลา 

จึงเป็นการดัดแปลงเล็กๆน้อยๆที่ให้แนวความคิดอันสำคัญยิ่งเพื่อพสกนิกรของพระองค์ 

สามารถพิจารณาแนวดำเนินชีวิตที่เป็นมงคล

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
นายอุดร   เหลืองวิชชเจริญ
ขอดำเนินรอยตามเบื้องยุคคลบาท